วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับเรียนเก่ง


เคล็ดลับเรียนเก่ง

เทคนิคเรียนเก่งขั้นเทพ...
เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับ วิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำ ความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำหากท่านสามารถจับหลักนี้ ได้ท่านย่อมพบกับความสำเร็จในการเล่าเรียนศึกษาอย่างแน่นอนขอให้โชคดีทุก ๆ คนนะครับ
1.เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2.จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3.หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4.หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไป ถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลย...

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554


เมนบอร์ด


เมนบอร์ดคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

เมนบอร์ดคืออะไร

นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้นเครื่องpcขึ้นมา ก็ปรากฏเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์
ที่สำคัญๆเข้ามาไว้ด้วยกัน เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้ก็มีชื่อเรียกว่า เมนบอร์ด(MainBoard)หรือมาเธอร์บอร์ด(Motherboard)
หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะเรียกว่าแผงวงจรหลัก ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
ภายในpcทั้งหมด เมนบอร์ดนี้จะมีลักษะณะเป็นแผ่นรูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ที่สุดในพีซีที่จะรวบรวมเอาชิปและไอซี
(IC-Integrated circuit)รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่นๆเอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงแผ่นเดียว เครื่องพีซีทุเครื่องไม่
สามารถทำงานได้ถ้าขาดเมนบอร์ด 
ความสำคัญของเมนบอร์ด

ชิ้นสวนคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น โปรเซสเซอร์, หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, ออปติคัลไดรฟ์ และเอ็กซ์แพนชั่นการ์ด จำเป็นต้องติดตั้งลงบนเมนบอร์ด เมนบอร์ดนั้นมีความสำคัญมากเกี่ยวกับเสถียรภาพของระบบ และยังมีผลกระทบกับข้อมูลจำเพาะขององค์ประกอบที่สามารถใช้ได้ และสมรรถนะของระบบด้วย
 

หน้าที่ของเมนบอร์ด


 แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน เส้นทางการคมนาคมศูนย์ควบคุมการ
จราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลักและ
ถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์เราจะแนะนำส่วนประกอบแต่ละส่วน
ของเมนบอร์ด ว่าประกอบด้วยส่วนประกอบใดบ้างเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน 
หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือน
กัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ดนั้นอาจจะมีหลาก
หลายแตกต่างไปตาม แต่ผู้ผลิตแต่ละแต่ราย และแตกต่างไปตามเทคโนโลยี เพราะ 
เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเมนบอร์ดแบบ ATX, Micro ATX, AT ทำให้ตำแหน่งการติดตั้ง
อุปกรณ์ การวางส่วนประกอบต่างๆ การทำงานต่างของเมนบอร์ดแตกต่างกันออกไป

ชนิดของเมนบอร์ด


 สามารถแบ่งเมนบอร์ดออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือเมนบอร์ดแบ่งตาม
โครงสร้างและเมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียู
เมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้าง

 เมนบอร์แบ่งตามโครงาร้างเรียกว่า Form Factors หมายถึง การจำแนก
เมนบอร์ดเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะโครงสร้าง ขนาดและรูปร่าง ตามมาตรฐานแล้วจะ
มีแบบ AT และ ATX แต่ทั้งนี้เมนบอร์ดแบบATXก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายรูปแบบ
ได้แก่ Micro ATX และ Flex ATX ซึ่งแต่ละแบบมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป

                      
      เมนบอร์ดแบบ AT                เมนบอร์ดแบบ ATX
ชนิดเมนบอร์ดลักษณะโครงสร้าง
AT
เป็นเมนบอร์ดที่มีความกว้างและยาวใกล้เคียงกันจึงมีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่สิ่งที่ทำให้
เมนบอร์ดแบบนี้ต่างจากแบบATXคือขั้วรับไฟจะมีเพียง12 ขาต่างจากแบบ ATX จะมีขั้วรับไฟ
20 ขา ดังนั้นเมนบอร์ดชนิดนี้จึงต้องใช้กับแคสที่เป็นเมนบอร์ดแบบ AT ด้วยเช่นกันโดยทั่วไป
เมนบอร์ดแบบนี้จะถูกกว่าแบบATX เล็กน้อยการปิดเครื่องผ่านแบบนี้ใช้สวิทส์เป็นตัวควบคุมไม่
สามารถปิดเครื่อง ทางปุ่มบนคีย์บอร์ดหรือสั่ง Shutdown ผ่านทาง Window ได้
ATX
เป็นเมนบอร์ดมาตรฐานใหม่ ซึ่งอินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาว
มากกว่าส่วนกว้าง แต่ขนาดเล็กกว่าแบบ AT เมนบอร์ดชนิดนี้ได้รับการออกแบบมาให้ซีพียูและ
หน่วยความจำอยู่ใกล้กันซึ่งทำให้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีตลอดจน ซีพียูถูกวางอยู่ใกล้กับ
พัดลมระบายความร้อน จึงระบายความร้อนได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังได้กำหนดตำแหน่งและสีของ
ช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ไว้ต่างกัน เพื่อให้จำได้ง่ายและเป็นมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งสามารถที่จะ
สั่งปิดเครื่องจากวินโดว์ได้โดยไม่ต้องกดปุ่มปิดเครื่องเองแต่เมนบอร์ดชนิดนี้ต้องใช้กับตัวเคส
ชนิด ATX เหมือนกันเท่านั้น
Micro ATX
มีลักษณะรูปร่างทั่วไปจะเหมือนกับเมนบอร์ดแบบATX แต่ได้ลดจำนวนสล็อตลงเหลือเพียง
3-4สล็อตเพื่อให้ราคาจำหน่ายถูกลงแหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการเสียบการ์ด เพื่อเติมต่างๆบน
สล็อตมากนัก
flex ATX
เป็นเมนบอร์ดแบบATX ที่มีขนาดเล็กที่สุด ใช้ประกอบกับเครื่องขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ 
เมนบอร์ดชนิดนี้มักมีอุปกรณ์ Onboard เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงและการ์ดโมเด็มมาด้วยแล้ว
จึงมีสล็อตติดตั้งบนเมนบอร์ดเพียง 2 สล๊อตเท่านั้น

เมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียู
 
 เมนบอร์ดแบบนี้ถูกออกแบบมารองรับกับการใช้งานซีพียูแต่ละรูปแบบ โดย
เฉพาะเนื่องจากซีพียูในปัจจุบันมีรูปแบบและโครงสร้างไม่เหมือนกัน ซ็อคเก็ตใส่ซีพียูจึง
ไม่เหมือนกันไปด้วย แต่ข้อแตกต่างที่กล่าวมานี้เกิดจากชิปเซ็ตเป็นตัวกำหนด เมนบอร์ด
ที่ใช้ชิบเซ็ตชนิดเดียวกันจะมีคุณสมบัติและความสามารถเหมือนกันสำหรับเมนบอร์ดใน
ปัจจุบันที่ยังนิยมใช้กันสามารถแบ่งตามซ็อคเก็ตใส่ซีพียูได้ดังนี้คือ แบบSocket 7,
Socket 370,Socket A,Slot A,Slot 1 สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot 2 ซึ่งเป็นของ
อินเทลที่ใช้สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเมนบอร์ดแบบSocket 3,4,5 ซึ่งเป็นเมนบอร์ด
รุ่นเก่าในปัจจุบันไม่มีการผลิตเพิ่มแล้ว

                               
             เมนบอร์ดแบบslot1                          เมนบอร์ดแบบ socket7                      เมนบอร์ดแบบ socket370
ชนิดเมนบอร์ดซีพียู/รุ่นที่ใช้จำนวนขาชนิดแพ็คเก็ต
Socket 7
Pentium ผลิตรุ่นหลังPentium mmxAMD K5,K6-2 
Cyrix6x86,M ll.
296/321
PPGA
Socket 370
Pentium III (coppermine)  รุ่นความเร็วไม่เกิน 600 MHz 
Celeron (รุ่นใหม่) AMD Cyrix III
370
PPGA Micro PGA 
FC-PGA PPGA
Socket A
AMD Thunderbird (Athlon รุ่นใหม่) AMD Duron
462
PPGA
Slot A
AMD Athlon (รุ่นเก่า)
246(2แถว)
SECC (AMD)
Slot 1
Pentium III (coppermine) รุ่น 600 MHz ขึ้นไป
246(2แถว)
SECC -แบบ 242 พิน


ระบบบัสและสล็อตของเมนบอร์ด

ความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของซีพียู
แต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากข้อมูลและคำสั่งจะต้องผ่านไปมาระหว่างอุปกรณ์ต่างๆบน
เมนบอร์ดและอุกรณ์ภายนอกเครื่องโดยอาศัยบัสเป็นช่องทางเดิน บัสที่ดีจะต้องเร็วพอ
ที่จะยอมให้กับอุปกรณ์อื่นๆรับและส่งข้อมูลผ่านไปได้ด้วยความเร็วเต็มที่ของอุปกรณ์นั้น 
เพื่อที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาคอขวดในการส่งผ่าข้อมูล
 อุปสรรค์ของการพัฒนาระบบบัสคือ ข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะ
เป็นสัญญาณดิจิตอลซึ่งอาจผิดเพี้ยนได้ง่ายเมื่อบัสมีความเร็วสูง หรือด้วยระยะทางที่
ยาวและวกวนของเมนบอร์ดดังนั้นระบบบัสในปัจจุบันจึงมีความเร็วเพียง66-133MHz
ซึ่งนับว่าช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็าของซีพียูทำให้ปัจจุบันซีพียูมีความเร็วเกินกว่า
1000MHz หรือ 1GHz แล้ว ดั้งนั้นระบบบัสแบบใหม่จึงแบ่งความเร็วออกเป็น2-4ชุด
เพื่อการทำงานกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่างกัน

     

 เนื่องจากการติดต่อระหว่างกับอุปกรณ์ต่างภายในคอมพิวเตอร์ต้องอาศัย
ระบบบัส เพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของระบบบัสโดยมีการพัฒนาเป็นลำดับดังนี้

 AT-Bus
 AT-Busเป็นบัสที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ซีพียู 
8088 มีความเร็ว8MHz แบบ16 บิต บัสชนิดนี้ซีพียูจะเป็นผู้ควบคุมการใช้บัส ถ้า
อุปกรณ์ในระบบตัวใดต้องการใช้งานบัสจะต้องส่งคำขอขัดจังหวะไปยังซีพียูทำให้
เสียเวลาในการติดต่อกับซีพียู ระบบจึงมีความเร็วต่ำ เช่นโมเด็มการ์ดเสีย และการ์ดแลน

 EISA และ MCA 
 MCA โดยแบ่งให้อุปกรณ์แต่ละชนิดสามารถที่จะใช้บัสได้โดยเท่าเทียมกันไม่
ต้องขอผ่านซีพียู  โดยแบ่งให้อุปกรณ์แต่ละชนิดสามารถที่จะใช้บัสโดยเท่าเทียมกันไม่
ต้องขอผ่านซีพียู โดยมีวาจรควบคุมชุดหนึ่งบัสชนิดนี้มีความเร็ว10 MHz แต่เนื่องจาก
ไม่สามารถใช้กับการ์ดรุ่นเก่าได้จึงไม่เป็นที่นิยม
 ต่อมาได้เกิดระบบบัสแบบใหม่คือ Extended ISA หรือEISA ซึ่งมีคุณ
สมบัติเช่นเดียวกับ MCAและสามารถใช้กับการ์ดรุ่นเก่าได้ แต่มีความเร็วเพียง8 MHz

 VL-Bus
 เนื่องจากในระยะต่อมามีการใช้โปรแกรมที่เป็นกราฟฟิคหรือ Gui
 (Graphics User Interface) จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมากในการแสดงผล
กราฟฟิคบนหน้าจอแต่ละบัสแบบเก่าที่มีความเร็วต่ำไม่เพียงพอ จึงเกิดมีกลุ่มที่เรียกว่า
 VESA (Video Electronics Standard Association) ได้เสนอระบบที่มีการติดต่อ
ระหว่างซีพียูกับการ์ดแสดงผลโดยตรง เพื่อให้การ์ดแสดงผลมีความเร็วใกล้เคียงซีพียู
เพิ่มมากขึ้น จึงเกิดความนิยมใช้กันมาก ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นเวอร์ชั่น2 แต่ยังไม่ทัน
ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็มาถูกแทนที่ด้วยระบบบัสแบบใหม่

 PCI
 เป็นระบบบัสแบบใหม่มาแทนที่ VL-bus ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Intel ในปี 
1993 เรียกว่า Peripheral Component Interconnect โดยจะมีชิปเซ็ตที่เป็นวงจร
สำหรับควบคุม บัสโดยเฉพาะทำให้ความเร็วในการติดต่อของอุปกรณ์ต่างๆ สูงขึ้น โดย
มีมาตรฐานความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 33 MHz 

ปัจจุบันความเร็วของบัส PCI ผันแปรเป็นสัดส่วนกับความเร็วของ System bus เช่น ถ้าต้องการความเร็วเป็น 66MHz ความเร็ว PCI จะเท่ากับครึ่งหนึ่ง คือ 33MHz ถ้าเป็นบัส100MHz ก็จะหาร 3 หรือถ้าเป็น บัส133MHz จะหาร 4 ดังนั้นความเร็วของ PCI จะไม่สูงเกินไป ซึ่งจะทำให้ การ์ดต่อเพิ่มที่เสียบอยู่กับสล็อตและบัสชนิดนี้ สามารถทำงานได้เป็นปกติ AGP ในระบบบัสความเร็วสูงที่เรียกว่า Accelerated Graphic Port Intel มี การพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ที่ต้องการใช้ข้อมูลในการประมวล ผลภาพเคลื่อนไหว และภาพ 3 มิติสูงมาก บัสชนิดนี้พัฒนาโดยบริษัท PCI คือ 66MHz เนื่องจากบัสชนิดนี้มีการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากและต้องการความเร็วที่สุดจึงต้องวาง ไว้ใกล้กับซีพียู ส่วนมากบนเมนบอร์ดจะมีสล็อตชนิดนี้เพียงชนิดเดียว

ชิปเซ็ต (Chipset)


 ชิปเซ็ตเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งบนเมนบอร์ด ซึ่งชิปเซ็ตแต่ละยี่ห้อ 
แต่ละรุ่น จะมีคุณสมบัติควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างกัน ซึ่งบริษัทที่ผลิตซีพียูออก
มาจำหน่ายอย่าง Intel และ AMD มักจะผลิตชิปเซ็ตออกมาเพื่อรองรับซีพียูของตนเอง
ด้วยในปัจจุบันนี้ผู้ผลิตชิปเซ็ต มักจะรวมเอาส่วนการแสดงผลกราฟฟิคเข้าไปด้วย เพื่อ
จำหน่ายให้กับ OEM ที่ต้องการประกอบเครื่องขายในราคาถูกเช่น Intel ซึ่งได้รวมเอา
วงจรแสดงผลกราฟฟิครุ่น i860 รวมเข้าไว้กับชิปเซ็ต i815 หรือ SiS ได้รวมเอาวงจร
แสดงผลกราฟฟิครุ่น SiS 530,620,6326 เข้าไว้กับชิปเซ็ต SiS เป็นต้น ชิปเซ็ตรุ่นใหม่
มักจะมาเพื่อรองรับในการทำงานกับหน่วยความจำแบบใหม่คือ DDR SDRAM ซึ่งมี
ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SD RAM ถึงกว่าเท่าตัว 

ชิปรอมไบออสและแบตเตอรี่แบ็คอัพ


 ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส 
(CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรมขนาดเล็กที่
จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะ
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไบออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูล
พื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บ
โปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบและสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ 
ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรมดังนั้น
ชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอสจะ
ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้าก็จะมา

   แบตเตอรี่แบ็ตอัพ

จากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด(แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า
หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรี่แบบลิเธี่ยมขนาด3 โวลต์ไว้) 
แต่ต่อมาในสมัย ซีพียูตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อ
ว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพ
ไบออสและชิพซีมอส จึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการ
พลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง
ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อมหรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณ
เซ็ตไว้เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ็ตใหม่ทุก
ครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออสในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ 
EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วย
ความจำรอมที่สามารถบันทึกได้โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ 
ที่เรียกว่าBurst ROM และสามารถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่
สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรือ
อัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีชิพรอมขึ้นมา
ใหม่ ให้เป็นแบบEEPROMหรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล
ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เรา
เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

จัมเปอร์และดิพสวิทช์


       ดิพสวิทช์   จัมเปอร์
  
 เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตั้งค่าต่างๆบนเมนบอร์ดโดยจัมเปอร์จะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยม
อันเล็กภายในมีวงจรโลหะใช้สำหร็บเสียบลงไปบน Pinซึ่งเป็นขาโลหะแหลมเล็กอยู่บน
เมนบอร์ดเพื่อเชื่อมต่อวงจรเข้าด้วยกันตามที่กำหนดไว้บนคู่มือเมนบอร์ด ส่วนดิพสวิทช์
เป็นแผงสี่เหลี่ยมพลาสติกที่ประกอบด้วยสวิทช์ขนาดเล็กอยู่ภายในเรียงกันเป็นสองแถว
คล้ายกับไอซีตัวเล็กๆ นั้นเองจึงมีชื่อว่า "DIP"ซึ่งย่อมาจากคำว่า Daul In-line Package 
สำหรับหน้าที่ของจัมเปอร์และดิพสวิทช์นั้นมีดังนี้

 - ใช้ตั้งค่าเร็วระบบบัสหรือ FSB (Front Side Bus)
 - ตั้งค่าอัตราตัวคูณสัญญาณนาฬิกาภายในตัวซีพียู
 - สำหรับปรับแรงดันไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับซีพียูในแต่ละยี่ห้อและต่างความถี่
 - เพื่อล้างค่าที่บันทึกไว้ในซีมอสหรือเรียกว่า "Clear CMOS"

 การกำหนดจัมเปอร์และดิพสวิทช์ 
 ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่มักไม่ต้องทำการตั้งค่าโดยใช้จัมเปอร์ และดิพสวิทช์ เนื่อง
จากจะมีการตั้งคาแบบอัตโนมัติหรือตั้งค่าเองในเมนูไบออสของเครื่อง ไม่ต้องทำการ
ถอดฝาเคสเปิดเครื่องเพื่อตั้งค่าให้ยุ่งยากอีก โดยสามารถตั้งค่าได้ทั้งตัวคูณสัญญาณ
นาฬิกา ความเร็วระบบบัสหรือแรงดันไฟที่จ่ายไฃให้กับซีพียู ซึ่งเรียกเมนบอร์ดชนิดนี้ว่า
"jumperless" แต่สำหรับเมนบอร์ดบางรุ่นเราอาจต้องทำการกำหนดค่าต่างๆ เอง
ได้แก่ ติดตั้งจัมเปอร์เพื่อบอกชนิดของ RAM จำนวนแถวของ RAM หรือแรงดันไฟ
ที่จ่ายให้กับ RAM แต่ละชนิด ในส่วนของซีพียูที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดก็อาจจะมีดิพสวิทช์
จำนวน 1-2ชุดเพื่อกำหนดความเร็วบัสและตัวคูณสัญญาณนาฬิกาภายในซีพียู ซึ่งบาง
เมนบอร์ดมีอุปกรณ์ประเภทOnboard ติดตั้งด้วยเช่น VGA,Sound,MODER หรือ 
LAN ก็จะมีจัมเปอร์ไว้ด้วยเพื่อกำหนดให้ใช้คุณสมบัตินี้หรือไม่คือEnable หรือ 
Disable

พอร์ตและคอนเน็คเตอร์


 พอร์ตและคอนเน็คเตอร์ เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างตัว
คอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ภายนอก ในคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายชนิด ปกติพอร์ตจะอยู่
ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่

       

 พอร์ตPS/2
 เป็นพอร์ตทรงกลมขนาดเล็กที่เรียกว่า Mini - Din มีขาจำนวน 6 ขา ใช้
สำหรับต่อกับเมาส์แบบPS/2 บนเมนบอร์ดแบบATX แต่ในเมนบอร์ตแบบAT รุ่นใหม่
ก็มีพอร์ดชนิดนี้ติดมาด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่ต้องการนำเมาส์แบบ Serial มาใช้กับ
พอร์ต PS/2 ก็สามารถทำได้โดยการใช้อะแดปเตอร์แปลงจากหัวต่อรูปตัว"D" เป็น
หัวต่อแบบDinเล็ก

 พอร์ตคีย์บอร์ด
 ใช้ต่อกับคีย์บอร์ด ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นหัวต่อขนาดเล็ก เช่นเดียวกับ
เมาส์แบบ PS/2 มีขาสัณญาณ 6 ขาสำหรับต่อกับเมนบอร์ดแบบ ATX ส่วนคีย์บอร์ด
ที่มีหัวต่อใหญ่จะใช้ต่อกับเมนบอร์แบบAT จะมีขาสัณญาณ 5 ขา ซึ่งในปัจจุบันไม่นิยม
ใช้กันแล้ว แต่ผู้ที่ต้องการนำคีย์บอร์ดชนิดนี้ไปใช้กับเมนบอร์ดแบบATX รุ่นใหม่ที่มี
ขั้วต่อแบบDin เล็ก สามารถทำได้โดยการใช้อะแดปเตอร์สำหรับแปลงขั้วต่อจากหัว
ใหญ่เป็นหัวเล็ก ซึ่งมีราคาไม่แพง

 พอร์ตUSB
 พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซี
คอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 
127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมา
ให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับ
สนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดี
อาร์ดับบลิวเป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้
อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว 
 - คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB 
สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ 
 -เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 
เซ็นติเมตร 
 - พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป 
 - สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว 
 - เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ 
 - การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์
นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องboot เครื่องใหม่

 พอร์ตอนุกรม (Serial Port)  
 เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้
สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ 
AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่ง
เครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม1และพอร์ตคอม 2 นอก
จากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน 
 - พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ 
เพราะมีเข็มยื่นออกมา) 
 - พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เมาส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น 
 - สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก

 พอร์ตขนาน (Parallel Port) 
 หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบัน
มีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย 
พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไปโดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน
สังเกตได้ง่าย 
 - พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) 
 - พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์
เป็นต้น 
 - สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรม
ด้วย 
 - การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม

 วีจีเอ พอร์ต (VGA Port) 
 พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน
ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่ม
เข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ดMPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วย
กันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต 
ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน 
จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้

 พอร์ตมัลติมีเดีย(Multimedia Port)
 ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะติดตั้งการ์ดเสียงมาให้ด้วย ซึ่งการ์ด
นี้จะมีช่องสำหรับต่อกับลำโพงไมโครโฟน และพอร์ตสำหรับต่อกับจอยสติ๊กอยู่ในตัวโดย
พอร์ตต่าง ๆ นั้นจะใช้สีแสดงหน้าที่การทำงาน เช่นช่องสำหรับต่อลำโพงจะใช้แจ๊คสีเขียว
ส่วนไมโครโฟนจะแทนที่ด้วยสีแดง และสีอื่น ๆ สำหรับแทนที่ Line In และ Line Out 
นอกจากนั้นการ์ดเสียงรุ่นราคาถูก อาจจะไม่ใช้สีแสดงการทำงานของแจ๊คแต่ละตัว แต่จะ
มีสัญลักษณ์แสดงการทำงานสลักติดอยู่แทน 

อุปกรณ์ประเภท Onboard


  เมนบอร์ดบางรุ่น เช่น เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ i810 ของ Intel
ที่ได้รวมเอาส่วนแสดงผลกราฟฟิคไว้ในตัว ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ SiS มักจะมี
ส่วนแสดงผลกราฟฟิค เสียง โมเด็มและLAN เป็นอุปกรณ์onboard อยู่ในตัว โดยมี
ลักษณะเป็นการ์ดมีสายสัญญาณต่อออกมาสำหรับเสียบเข้ากับคอนเน็คเตอร์บน
เมนบอร์ด แต่ก่อนจะใช้คุณสมบัติอุปกรณ์ onboard ประเภทนี้ได้ต้องทำการเปิดค่า
การใช้ให้เป็น onหรือ enable เสียก่อน แต่ถ้าเกิดต้องการซื้ออุปกรณ์ประเภทนี้มาเสียบ
เพิ่มเองก็ให้ปิดค่าการใช้เป็นoff หรือdisable เสียบสำหรับการกำหนดค่าอาจเป็นจัมเปอร์
หรือตั้งค่าในเมนูไบออสขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด

 การ์ดจอ On Board
 การ์ดจอ On Board มีลักษณะเป็นการ์ดต่อเพิ่มมีสายสัญญาณจำนวน15Pin 
สำหรับเสียบต่อกับคอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ดเป็นการ์ดที่มักจะมีในเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต 
i810 และชิปเซ็ตรุ่น SiS620 ,SiS630 และSiS640 ของ SiS การเสียบให้นำสาย
สัญญาณขาที่ 1 เสียบให้ตรงกับขั้วคอนเน็คเตอร์ขาที่ 1 จุดสังเกตขาที่ 1 ของสาย
สัญญาณจะมีสีแดง ส่วนขาที่ 1 ของคอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ดจะมีตัวเลขกำกับอยู่บน
เมนบอร์ด 

 การ์ดเสียง On Board 
 มีชื่อเรียกว่า Audio Ports and Game/MIDI Port Extension 
Bracket เป็นการ์ดต่อเพิ่มที่มีอยู่กับเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ SiS ที่ด้านหลังการ์ดนี้
จะมีช่องต่อ line in, line out, microphone และ port game เช่นเดียวกับการ์ด
เสียงทั่งไป ส่วนสายสัญญาณของการ์ดนี้มีจำนวน 25 Pin การเสียบต่อบนเมนบบอร์ด
ให้นำขาของสายเส้นที่1 เสียบกับขาคอนเน็คเตอร์ขาที่1 ของเมนบอร์ด จุดสังเกตคือ 
ขาที่1 ของสายสายสัญญาณจะมีสีแดงตลอดเส้นส่วนคอนเน็คเตอร์ขาที่1 จะมีตัวกำกับ
อยู่บนเมนบอร์ด

 การ์ดโมเด็ม On Board
 การ์ดโมเด็ม On Board หรือ Fax/Modem Module มักจะติดกับมากับ
เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ SiS มีลักษณะเป็นโมดูล 16 Pin สำหรับเสียบลง
คอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ดด้านหลังการ์ดนี้ช่องต่อสำหรัยบสายโทรศัพท์บ้านเข้าคอม 
และอีกช่องต่อหนึ่งสำหรับต่อไปยังเครื่องรับโทรศัพท์

 การ์ดเครือข่าย On Board
 การ์ดเครือข่าย On Board มักจะมีติดมากับเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ 
SiS ลักษณะเป็นการ์ดต่อเพิ่มมีสายสัญญาณ 9 ขา สำหรับเสียบกับคอนเน็ตเตอร์บน
เมนบอร์ดโดยการเสียบต้องให้ขาที่1 ตรงกันเหมือนกับการเสียบการ์ด On Board
อื่นๆหลังจากนั้นให้ขันยึดน็อตเพื่อยึดตัวการ์ดเข้ากับท้ายเคส

อุปกรณ์เสริมอื่นๆ บนเมนบอร์ด


 เนื่องจากอุปกรณ์มาตรฐานที่ต้องมีในทุกเมนบอร์ด เมนบอร์ดรุ่นใหม่มัก
มีอุปกรณ์อื่นๆ เสริมขึ้นมาเพื่อขยายขีดความสามารถ เช่นสามารถสั่งเปิดจากเครื่อง
อื่นในเครือข่ายหรือควบคุมอุปกรณ์ชนิดอื่นได้จากระยะไกลมีดังต่อไปนี้

 IrDA Infrared Connector
 เรียกย่อว่า IR มีลักษณะเป็นเข็มโลหะยื่นออกมาจากเมนบอร์ดจำนวน 5 Pin 
สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ถูกควบคุมการทำงานด้วยลำแสงอินฟราเรด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไร้
สายเช่น เครื่องปาล์ม เป็นต้น ในการใช้งานผู้ใช้จะต้องซื้อขั้วต่อสำหรับเสียบลงบนเข็ม
โลหะนี้มาใช้เพิ่มเติมซึ่งขั้วต่อนี้จะมีตัวรับ-ส่งสัญญาณอินฟราเรดเพื่อทำงานกับอุปกรณ์
ไร้สายภายนอกการที่จะใช้คุณสมบัติของอุปกรณ์ประเภทนี้ได้ ต้องเข้าไปกำหนดค่าใน
เมนูไบออสของเครื่องให้ Enable เป็นเสียก่อน

 พอร์ต IEEE1394 
 พอร์ต IEEE1394 สร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับตัดต่อดิจิตอลวีดีโอ โดยเฉพาะ
จึงมีความเร็วสูงมาก ในการใช้งานจะต้องมีการ์ด Controller สำหรับเสียบบนสล็อต
แบบ PCI เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกผ่านทางสายสัญญาณอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งอาจมี 
4Pin หรือ 6Pin ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ตัวใด ต้องการไฟเลี้ยงจะใช้สาย 6Pin ถ้าไม่
ต้องการก็ใช้ 4Pin 

 Wake-Up on LAN Connector
 มีลักษณะเป็นขั้วรับบนเมนบอร์ดสำหรับต่อเชื่อมกับการ์ด LAN ที่สนับสนุน
คุณสมบัตินี้ด้วยโดยสังเกตได้จากจะมีสายสัญญาณ 2 สายต่อเชื่อมออกมาจากตัวการ์ด
โดยนำปลายสายอีกด้านหนึ่งมาเสียบลงบนขั้วต่อนี้ แต่ก่อนจะใช้คุณสมบัตินี้ได้ต้องเปิด
การใช้ค่านี้ในเมนูไบออสในหัวข้อ Wake-Up on LAN Connector ให้เป็น Enable 
เสียก่อนและต้องใช้กับเคสที่มีแหลงจ่ายไฟมากพอ โดยเมื่อใช้คุณสมบัตินี้แล้ว เราจะ
สามารถเปิดเครื่องผ่านทางระบบเครือข่ายได้

 Modem Wake Up Connector
 คอนเน็คเตอร์นี้ใช้ร่วมกับการ์ดโมเด็มแบบติดตั้งภายในที่สนับสนุนคุณสมบัติ
นี้เราจะต้องไปตั้งค่าในเมนูไบออสในหัวข้อ "Resume by Alarm" ให้เป็น Enable 
เสียก่อนจึงจะใช้คุณสมบัตินี้แต่ก็เช่นกันจะต้องใช้กับเคสที่มีแหล่งจ่ายไฟเพียงพอ ในการ
ใช้คุณสมบัตินี้ให้ต่อสายสัญญาณโทรศัพท์บ้านเข้ากับพอร์ตท้ายการ์ดโมเด็มและเมื่อมี
สายสัญญาณโทรศัพท์ผ่านเข้ามาทางการ์ดโมเด็มก็จะเป็นการเปิดเครื่องเพื่อทำงาน
ต่อไป

เมนบอร์ดสำหรับค่ายต่างๆ


 เมนบอร์ดสำหรับ Pentium III และ Celeron
 เมนบอร์ดสำหรับ Pentium III และ Celeron ก็คือเมนบอร์ดที่ใช้Socket 370
ทั้งหลายโดยเมนบอร์ดที่รองรับ Pentium IIIได้ก็จะรองรับ Celeronด้วย ซึ่งก็คือจะต้อง
เป็นเมนบอร์ดที่มีความเร็วบัสสูงสุดได้ถึง 133MHz รองรับSDRAM PC1600 กับ PC
2100ในขณะที่ Celeron ต้องการเพียง 66 MHzในรุ่นที่ความเร็วต่ำกว่า 800 MHz จึง
สามารถใช้กับเมนบอร์ดที่ราคาถูกกว่าได้ ปัจจุบันมีจุดที่ต้องการคำนึงถึงคือ ซีพียู
Pentium IIIรุ่นที่มีรหัสว่า Tualatin ซึ่งใช้ชื่อรุ่นมีตัวท้ายกำกับด้วยตัว A ได้แก่ 1.13 A,
1. 2A เป็นซีพียูรุ่นใหม่ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 0.13 ไมครอน จึงจำเป็นจะต้องใช้
ชิปเซ็ตรุ่นใหม่ที่รองรับซีพียูนี้  ไม่สามารถนำไปใช้กับเมนบอร์ดเก่าๆได้ ในการเลือกซื้อ
เมนบอร์ดจึงควรระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย

 เมนบอร์ดสำหรับ Pentium 4
 เมนบอร์ดสำหรับ Pentium 4 จะมีสองแบบ Socket423 กับ Socket478 โดย
Socket423ใช้กับ Pentium 4 รุ่นแรก มีความเร็วไม่เกิน 2GHz สังเกตได้จากช็อกเก็ตมี
ขนาดใหญ่มากและรองรับเฉพาะ RDRAM เท่านั้น(เว้นแต่ว่าชิปเซ็ต P4X266 ของ VIA 
จะได้รับการยอมรับก็จะมี DDR-SDRAM ด้วย)โดยจะต้องใส่ครั้งละ 1 คู่เสมอ บอร์ดรุ่น
นี้กำลังล้าสมัย และจะตกรุ่นไปในที่สุด และจะมาแทนที่บอร์ดที่ใช้ Socket478 ที่มีขนาด
ช็อกเก็ตเล็กลง (ช็อกเก็ตมีขนาดเล็กลงเนื่องจากเป็นแบบBGA)ในขณะที่ฐานสำหรับ
ฮีทซิงค์และพัดลมยังคงมีขนาดเท่าเดิมและจะมีทั้งที่เป็น RDRAM,SDRAM, และ
DDR-SDRAM

 เมนบอร์ดสำหรับAthlonและDuron
 เมนบอร์ดสำหรับAthlonก็รองรับ Duronด้วยเช่นกัน ข้อแตกต่างคือ Athlon
รุ่นใหม่จะมีแบบที่ใช้บัสความเร็ว 266 MHz ด้วย โดยAthlon รุ่นนี้จะมีตัวคูณที่ลดลง
ทำให้เมื่อนำไปใช้กับเมนบอร์ดที่รองรับเพียงแค่บัส200 MHzก็จะทำงานได้ช้าลง 
เมนบอร์ดสำหรับAthlonรุ่นใหม่ๆจะมีทั้งที่รองรับเฉพาะ SDRAM,รองรับเฉพาะ
DDR-SDRAMและที่รองรับได้ทั้ง SDRAM และDDR-SDRAMทั้งที่ก็ขึ้นอยู่กับชิปเซ็ต
ที่ใช้และการออกแบบเมนบอร์ดแต่ละรุ่น แต่ทั่งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ Socket A ด้วยกัน
ทั้งสิ้น โดย Socket Aนี้คาดว่าจะยังคงใช้อยู่ต่อไปอีกนาน

 เมนบอร์ดสำหรับ VIA C3 
 VIA C3 ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับ Socket 370 ดังนั้นเมนบอร์ดสำหรับ
Pentium III ทั่วๆ ไปจึงควรใช้งานได้ แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดเก่าก็จะสามารถอัพเดท
BIOS ให้รู้จักและใช้งานได้เช่นกัน
 

อุปกรณ์เสริมอื่นๆ บนเมนบอร์ด


 เนื่องจากอุปกรณ์มาตรฐานที่ต้องมีในทุกเมนบอร์ด เมนบอร์ดรุ่นใหม่มัก
มีอุปกรณ์อื่นๆ เสริมขึ้นมาเพื่อขยายขีดความสามารถ เช่นสามารถสั่งเปิดจากเครื่อง
อื่นในเครือข่ายหรือควบคุมอุปกรณ์ชนิดอื่นได้จากระยะไกลมีดังต่อไปนี้

 IrDA Infrared Connector
 เรียกย่อว่า IR มีลักษณะเป็นเข็มโลหะยื่นออกมาจากเมนบอร์ดจำนวน 5 Pin 
สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ถูกควบคุมการทำงานด้วยลำแสงอินฟราเรด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไร้
สายเช่น เครื่องปาล์ม เป็นต้น ในการใช้งานผู้ใช้จะต้องซื้อขั้วต่อสำหรับเสียบลงบนเข็ม
โลหะนี้มาใช้เพิ่มเติมซึ่งขั้วต่อนี้จะมีตัวรับ-ส่งสัญญาณอินฟราเรดเพื่อทำงานกับอุปกรณ์
ไร้สายภายนอกการที่จะใช้คุณสมบัติของอุปกรณ์ประเภทนี้ได้ ต้องเข้าไปกำหนดค่าใน
เมนูไบออสของเครื่องให้ Enable เป็นเสียก่อน

 พอร์ต IEEE1394 
 พอร์ต IEEE1394 สร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับตัดต่อดิจิตอลวีดีโอ โดยเฉพาะ
จึงมีความเร็วสูงมาก ในการใช้งานจะต้องมีการ์ด Controller สำหรับเสียบบนสล็อต
แบบ PCI เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกผ่านทางสายสัญญาณอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งอาจมี 
4Pin หรือ 6Pin ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ตัวใด ต้องการไฟเลี้ยงจะใช้สาย 6Pin ถ้าไม่
ต้องการก็ใช้ 4Pin 

 Wake-Up on LAN Connector
 มีลักษณะเป็นขั้วรับบนเมนบอร์ดสำหรับต่อเชื่อมกับการ์ด LAN ที่สนับสนุน
คุณสมบัตินี้ด้วยโดยสังเกตได้จากจะมีสายสัญญาณ 2 สายต่อเชื่อมออกมาจากตัวการ์ด
โดยนำปลายสายอีกด้านหนึ่งมาเสียบลงบนขั้วต่อนี้ แต่ก่อนจะใช้คุณสมบัตินี้ได้ต้องเปิด
การใช้ค่านี้ในเมนูไบออสในหัวข้อ Wake-Up on LAN Connector ให้เป็น Enable 
เสียก่อนและต้องใช้กับเคสที่มีแหลงจ่ายไฟมากพอ โดยเมื่อใช้คุณสมบัตินี้แล้ว เราจะ
สามารถเปิดเครื่องผ่านทางระบบเครือข่ายได้

 Modem Wake Up Connector
 คอนเน็คเตอร์นี้ใช้ร่วมกับการ์ดโมเด็มแบบติดตั้งภายในที่สนับสนุนคุณสมบัติ

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

blu-ray

คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
 
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จุดประสงค์รายวิชา

        1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการทำงาน และโครงสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ การถอดประกอบ ตรวจสภาพชิ้นงานส่วน หลักการจัดการระบบเครือข่ายเบื้องต้น
        2. เพื่อไห้สามารถบำรุงรักษา ตรวจซ่อม และจัดการธุรกิจคอมพิวเตอร์
        3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความเป็นระเบียบร้อย ประณีรอบคอบ และปลอดภัย

มาตรฐานรายวิชา

          1. เข้าใจหลักการทำงานและการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
          2. ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ และตรวยซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
          3. ติดตั้งโปรแกม และบำรุงรักษาเครือข่ายเบื้องต้น

คำอธิบาย

          ศึกษาและปฏิบัติการประกอบ ติดตั่ง ทดสอบ และตรวยซ่อม เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ แผงวงจรการสื่อสาร การตั้งโปรแกม การจัดซ่อม การรับ-ส่งงาน และการประมาณราคา การทดสอบคุณภาพงานให้ได้มาตรฐาน